วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

การสัมมนาสรุปการศึกษารูปแบบและเส้นทางระบบสาธารณะรองรับนักท่องเที่ยว และกิจกรรม MICE

Spread the love

การสัมมนาสรุปการศึกษารูปแบบและเส้นทางระบบสาธารณะรองรับนักท่องเที่ยว และกิจกรรม MICE

11737038_10206237909960888_1346887931_n

การสัมมนาสรุปการศึกษารูปแบบและเส้นทางระบบสาธารณะรองรับนักท่องเที่ยว และกิจกรรม MICE หวังพัฒนาต่อยอดระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพการพัฒนาระบบโครงสร้างเมืองอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2558 ณ ห้องแกรนด์วิว 1 ศูนย์ประชุมนานาชาติโรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการเปิดการประชุมสัมมนา สรุปการศึกษาระบบคนส่งสาธารณะเพื่อรองรับกิจกรรม MICE และการท่องเที่ยว โดยมีนายวิรุฬ พรรณเทวี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การประชุมสัมมนา สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับ ศูนย์บริการวิศวกรรม มช. จัดสัมมนาสรุปการศึกษารูปแบบและเส้นทางระบบสาธารณะรองรับนักท่องเที่ยว และกิจกรรม MICE หวังพัฒนาต่อยอดระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพการพัฒนาระบบโครงสร้างเมืองอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาดังกล่าวจะถูกนำไปใช้จริงอย่างเป็นรูปธรรมผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และหัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เปิดเผยว่า โครงการระบบโครงสร้างเมืองเพื่อรองรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่กลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 อันประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน โดยมีสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่เป็นการแกนกลาง และศูนย์บริการกิจกรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายหลักคือ การพัฒนาระบบโครงสร้างเมืองให้มีความยั่งยืน โดยในระยะแรกโอกาสจะเร่งพัฒนาศักยภาพของการสร้างเมืองในส่วนของระบบขนส่งสาธารณะใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ให้มีศักยภาพและความพร้อมต่อการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่ม MICE ซึ่งในอนาคตกลุ่มนักท่องเที่ยวดังกล่าวจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจ ให้แก่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ดังนั้นกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะของกลุ่มจังหวัดให้มีความพร้อม กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 มีศักยภาพความพร้อมที่โดดเด่นอย่างยิ่งเพราะมีมนต์เสน่ห์ทางวัฒนธรรมวิถีชีวิตประวัติศาสตร์และมีสถานที่พักโรงแรมร้านอาหาร และศูนย์ประชุมนานาชาติ ซึ่งเป็นที่ได้เปรียบเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เลือก 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนเป็นจุดหมายปลายทางในการจัดกิจกรรม MICE

ดังนั้นโครงการระบบโครงสร้างเมืองเพื่อรองรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะของ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนให้มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวนายวิรุฬ พรรณเทวี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่าโครงการระบบโครงสร้างเมืองเพื่อรองรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีขอบข่ายการดำเนิน โครงการ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ซึ่งภายใต้โครงการดังกล่าวจะมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะรวมไปถึงขนส่งสาธารณะของทั้ง 4 จังหวัดทั้งภายในจังหวัดและกรรมเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด นอกจากการพัฒนาศักยภาพด้านระบบขนส่งสาธารณะของ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ให้มีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวทั่วไปและกลุ่มนักท่องเที่ยว MICE ในระยะต่อต่อไปจะมุ่งด้านความพร้อมของโครงสร้างเมืองในด้านต่างๆ ภายใต้โครงการณ์ดังกล่าวมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่สิ่งก่อสร้าง แต่หมายถึงรวมถึงบุคลากรซึ่งถือว่าเป็นโครงสร้างอันสำคัญของเมืองเช่นกัน ดังนั้นระยะเวลาต่อไปภายใต้โครงการดังกล่าวจะมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่ให้บริการขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอาจารย์ธนวิชญ์ ชุลิกาวิทย์ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารวิศวกรรม มช. กล่าวว่า ศูนย์บริหารวิศวกรรม มช. ได้เข้ามามีส่วนร่วมผลักดันโครงการในฐานะที่ปรึกษาโครงการ ได้นำเอาองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมามาช่วยคิดและศึกษา ถึงกรอบแนวทางการจัดวางระบบขนส่งสาธารณะเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในกลุ่มทั่วไปและกลุ่ม MICE พร้อมกับการดำเนินการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีระบบขนส่งสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองให้มีความยั่งยืน โดยผลการศึกษารูปแบบและเส้นทางขนส่งสาธารณะ ภายใต้โครงการดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้

จังหวัดเชียงใหม่แบ่งออกเป็น 3 เส้นทางโดยเส้นทางที่ 1 สายสีแดงจะเริ่มต้นจากสนามบิน ผ่านโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม บรรจบกับเส้นทางที่ 2 บริเวณพาวเวอร์บาย และวนขวาผ่านไปสู่ประตูช้างเผือก เพื่อตัวขึ้นไปสะพานศรีนครพิงค์ พุ่งตรงไปสถานีขนส่งอาเขต ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล แล้ววกกลับมาซูเปอร์ไฮเวย์ ตัดเข้าสถานีรถไฟแล้วตรงเข้าสู่ เข้าสู่ในเมือง เพื่อผ่านไปยังโรงแรมดวงตะวัน โรงแรมแชงกรีล่า โรงแรมดิเอ็มเพรส แล้วมุ่งไปสู่สนามบินเชียงใหม่ สายที่ 2 สีน้ำเงิน เริ่มจากบริเวณห้างสรรพสินค้ากาดสวนแก้ว มุ่งหน้าไปยังถนนห้วยแก้วถึงสี่แยกโรงแรมเชียงใหม่ภูคำ แล้ววิ่งเลียบเส้นข้างคลองไปทางขวาเพื่อมุ่งหน้าสู่ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สนามกีฬา 700 ปีแล้ววนกลับมาเส้นทาง ศูนย์ราชการ มุ่งหน้าสู่สีแยกข่วงสิงห์ โดยผ่านถนนโชตนาแล้ววนกลับมาสู่ห้างสรรพสินค้ากาดสวนแก้ว สายที่ 3 สีเขียวเริ่มจากสวนสัตว์เชียงใหม่ วิ่งเลียบเส้นทางคันคลอง ไปสู่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี แล้ววนกลับมายังสวนสัตว์เชียงใหม่ สำหรับรูปแบบขนส่งสาธารณะที่จะให้บริการจะเป็นรถมินิบัสขนาดเล็ก 15 ที่นั่งจำนวน 32 คันนำมาวิ่งตามเส้นทางดังกล่าว โดยทางศูนย์บริการวิศวกรรมเล็งเห็นการให้บริการรถขนส่งสาธารณะตามเส้นทางเมืองเก่าเป็นระบบรถที่มีคุณภาพเพราะการกำหนดราคาให้บริการในส่วนนี้จะสูงกว่าระบบขนส่งสาธารณะที่มีอยู่เดิม แต่อย่างไรก็ดีนะท่องเที่ยวทั่วไปหรือกลุ่ม MICE ยังสามารถเลือกใช้บริการขนส่งแล้วนะอื่นของจังหวัดเชียงใหม่ได้ ในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ อาทิ รถสี่ล้อแดง เป็นต้น โดยช่วงแรกอาจใช้บริการรถสี่ล้อแดงวิ่งช่วย จะวิ่งห่างกันประมาณ 20 นาที ราคาระดับพรีเมี่ยม โดยอาจจะกำหนด เช่น 1 รอบ 100บาท รอบละ 400 บาทต่อวัน 1000 บาทหรือเป็นตั๋ว 7 วัน จุดจอดรถต่างๆจะขอความร่วมมือในโรงแรมมีจุดขายตั๋วและราคาตั๋วจะเป็นราคามาตรฐาน จังหวัดลำพูน รูปแบบของเส้นทางระบบขนส่ง ส่วนใหญ่จะอยู่ในตัวเมือง ซึ่งจังหวัดลำพูนมีความโดดเด่นหน้าของสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดที่อยู่ในเขตตัวเมืองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเส้นทางที่กำหนดขึ้นจะเป็นการใช้เส้นทางท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองลำพูนเส้นทางที่ศูนย์บริการวิศวกรรมได้ศึกษาดังนั้นจังหวัดลำพูน จึงสามารถแบ่งได้เป็น 3 เส้น ทางคือ เส้นทางขนส่งสาธารณะที่ทางเทศบาลเมืองลำพูนกำหนดขึ้น 2 เส้นทาง และอีก 1 ซึ่งทางที่ศูนย์บริการวิศวกรรมศึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้ จุดเริ่มต้นที่จะเริ่มจากสถานีขนส่งจังหวัดลำพูน มุ่งตรงไปสู่อนุสาวรีย์เจ้าแม่ เทวีวัดจามเทวี ผ่านเข้าสู่โรงแรมลำพูนวิวล์ วัดมหาวันแล้วตัดเข้าในตัวเมือง ตรงไปสู่สถานีรถไฟจังหวัดลำพูน แล้วผ่านมาสู่วัดพระธาตุหริภุญชัยมาสิ้นสุด ตรงอนุเสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ในระยะแรกเริ่มขนส่งสาธารณะของเมืองลำพูน จะเป็นระบบขนส่งที่ใช้ระบบคอลเซ็นเตอร์ ในช่วงแรกไปก่อน จังหวัดลำปาง รูปแบบเส้นทางขนส่งสาธารณะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่เส้นทางขนส่งสาธารณะภายในตัวเมือง และเส้นทางนอกเมือง เนื่องจากจังหวัดลำปางมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่นอกเมืองเป็นจำนวนมาก โดยรูปแบบของรถโดยสารที่จะให้บริการนั้น ภายในตัวเมืองจะมีรถโดยสารประจำทางวิ่งเป็นเส้นทางอยู่แล้ว เช่นรถเขียวเหลืองและรถม้าเป็นต้น ส่วนการเดินทางไปสู่สถานที่ท่องเที่ยวนอกตัวเมืองจะใช้รูปแบบของการเช่าเหมารถขนส่งสาธารณะ โดยเส้นทางที่ศูนย์ได้ศึกษานั้นมีรายละเอียดดังนี้ เส้นทางที่ 1 จากตัวเมืองวิ่งไปเมืองแม่เมาะ และบ้านแกะสลัก เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองวิ่งไปยังพระธาตุลำปางหลวง และวัดพระธาตุจอมปิง เส้นทางที่ 3 จากตัวเมืองวิ่งไปศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ตลาดทุ่งเกวียน ศูนย์เซรามิก เส้นทางที่ 4 จากตัวเมืองวิ่งไปยังเขื่อนกิวลม วัดเฉลิมพระเกียรติ และอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน เส้นทางที่ 5 จากตัวเมืองวิ่งไปอุทยานแห่งชาติถ้ำวัดผาไทย ภาพเขียนสีประตูผา จังหวัดแม่ฮ่องสอน สำหรับเส้นทางขนส่งสาธารณะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ภายในตัวเมืองและนอกเมืองด้วยเส้นทางภายในตัวเมืองของจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะมีรถตุ๊กๆ ให้บริการส่วนเส้นทางนอกเมือง จะเป็นการเช่าเหมารถขนส่งสาธารณะซึ่งจังหวัดแม่ฮ่องสอน ภายใต้ตัวเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ได้แก่ วัดพระธาตุดอยกองมู วัดพระนอน พิพิธภัณฑ์มีชีวิต สถานที่ประชุม เป็นต้น เส้นทางนอกเมือง ศูนย์วิศวกรรมได้กำหนดไว้ 3 เส้นทางได้แก่ เส้นทางที่ 1จากตัวเมืองไปยังปางอุ๋ง พระตำหนักปางตอง เส้นทางที่ 2 วิ่งจากตัวเมืองไปยังพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ทุ่งดอกบัวตอง น้ำพุร้อนหนองแห้ง เส้นทางที่ 3 วิ่งจากตัวเมืองไปยังน้ำตกซู่ซ่า อำเภอปายนอกจากการศึกษาเส้นทางและรูปแบบขนส่งสาธารณะทาง ศูนย์บริการวิศวกรรมได้ดำเนินการโดยในด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับเส้นทางดังกล่าว และสร้างจิตรสำนึกของภาคส่วนต่างๆ ให้เห็นความสำคัญของการมีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจัยพื้นฐานสำคัญสุดของการพัฒนาโครงสร้างเมืองให้มีความยั่งยืน จะเริ่มต้นจากการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้มีศักยภาพเป็นลำดับแรกและเชื่อมโยงศักยภาพของระบบขนส่งสาธารณะที่ดีไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆต่อไป สิ่งสำคัญที่สุดคือทุกภาคส่วนมาร่วมกันคิดเปลี่ยนและทำร่วมมือกันผลักดันให้โครงการดังกล่าวก้าวไปสู่ความสำเร็จ และเชื่อมั่นว่าโครงการดังกล่าวจะเกิดรูปธรรมในระยะเวลาอันใกล้ซึ่งการเกิดขึ้นของระบบขนส่งสาธารณะในรูปแบบใหม่นี้มิได้ประโยชน์แต่เพียงแค่ส่วนได้ส่วนหนึ่ง หากแต่จะเรื่องประโยชน์ไปยังทุกทุกภาคส่วนดังนั้นทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ.

CNX NEWS รายงาน

11737071_10206237889480376_1230491721_n 11749320_10206237888480351_2099299149_n