วันพฤหัสบดี, 28 มีนาคม 2567

การค้าภายในเชียงใหม่สรุปผลความคืบหน้าโครงการรับจำนำข้าว

Spread the love

           การค้าภายในเชียงใหม่สรุปผลความคืบหน้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2556-2557 จังหวัดเชียงใหม่  รอบที่ 1

 

การค้าภายในเชียงใหม่สรุปผลความคืบหน้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2556/57 จังหวัดเชียงใหม่  รอบที่ 1 ซึ่งปิดจุดจำนำครบทุกจุด ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 โดยมีผลการรับจำนำสะสมจำนวน 140,204.505 ตัน จำนวนใบประทวน รวม 33,220 ใบ

นางนิตยา หมื่นอนันต์ การค้าภายในจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด 444,762 ไร่ ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ 353,860 ตัน ส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่อำเภอสันกำแพง แม่อาย พร้าว   ดอยสะเก็ดและอำเภอฝาง โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มีการปลูกข้าวเหนียวมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 80 ข้าวหอมมะลิ คิดเป็นร้อยละ 5 และพันธุ์ข้าวชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้ ในส่วนของการดำเนินการตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิตปีการผลิต 2556/57 รอบที่ 1 ข้อมูล ณ วันที่ 4 มีนาคม 2557 จังหวัดเชียงใหม่ได้เปิดจุดรับจำนำ รวม 34 แห่ง ซึ่งได้ปิดจุดรับจำนำทุกจุดแล้วตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นมา ส่วนผลการรับจำนำสะสม มีการออกใบประทวนจำนวน 33,220 ใบ แยกเป็น โรงสีในพื้นที่ 11,296 ใบ โรงสีนอกพื้นที่ 21,924 ใบ มีปริมาณการรับจำนำทั้งสิ้น 140,204.505 ตัน คิดเป็นร้อยละ  39.62 ของผลผลิตรวม แยกเป็น ข้าวหอมมะลิ 5,381.388 ตัน ข้าวเหนียว 10% เมล็ดยาว 134,823.117 ตัน ส่วนการจ่ายเงินของสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดเชียงใหม่ ณ วันที่ 3 มีนาคม 2557 มีการจ่ายเงินทั้งหมด 16,321 ราย จำนวนเงิน 1,338,244,218 บาท คงค้างทำสัญญาและรอรับเงิน 11,483 ราย จำนวนเงิน 867,818,285 บาท

การค้าภายในจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดเชียงใหม่มีคลังสินค้ากลางตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก รวม 9 แห่ง ประกอบด้วย ในปีการผลิต 2555/56 (เช่า) จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ คลังรุ่งเรืองเจริญพืชผล หลังที่ 1 และ หลังที่ 3 อำเภอพร้าว, คลังเกรียงไกรการเกษตรหลังที่ 1 อำเภอพร้าว, คลังวัชระกิจ หลังที่ 1 อำเภอแม่อาย และ คลังยวงคำ หลังที่ 1 อำเภอแม่อาย ในส่วนของปีการผลิต 2556/57 ซึ่งเป็นการ   รับฝาก จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ คลังวัชระกิจ หลังที่ 2 อำเภอฝาง, คลังสามพี่น้องค้าข้าว หลังที่ 1 หลังที่ 2 และ หลังที่ 3 อำเภอแม่อาย

ในส่วนของความคืบหน้าการช่วยเหลือชาวนานั้น หลังจากที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการ      รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะตัวแทนรัฐบาลได้เข้าชี้แจงการขออนุมัติการใช้งบกลาง 20,000 ล้านบาทเพื่อนำไปชำระหนี้ชาวนาตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนั้น เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2557 กกต.มีมติอนุมัติให้ ครม.สามารถใช้งบกลาง 20,000 ล้านบาทเพื่อนำไปชำระหนี้ชาวนา โดยให้เป็นเงินยืมทดรองราชการ ที่ทำสัญญาระหว่างกรมการค้าต่างประเทศกับกระทรวงการคลัง และต้องนำเงินที่ได้จำหน่ายข้าวมาคืนให้ครบทั้ง 20,000 บาท ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 โดยให้เหตุผลว่า คำขอดังกล่าวเป็นการขอใช้ งบกลางในกรณีฉุกเฉินจำเป็น ซึ่งอยู่ในอำนาจอนุมัติของ กกต. โดยวงเงิน 20,000 บาทที่ให้เป็นการยืมไม่ใช่จ่ายขาดและต้องนำเงินจากการขายข้าวมาคืน ซึ่งวงเงิน 20,000 ล้านบาทเป็นตัวเลขที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณได้ประมาณการแล้วว่าถ้าให้ยืมออกไปและสามารถมาใช้คืนในเดือนพฤษภาคม 2557 จะไม่มีผลกระทบต่อวงเงินที่ต้องสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินทุกกรณีที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ได้รับคำยืนยันจากอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศว่ารายได้จากการจำหน่ายข้าวอยู่ที่ 8,000 ล้านบาทต่อเดือน ตัวเลขที่ได้จากการระบายข้าว 3 เดือนจะมีจำนวน 24,000 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่จะนำมาคืนงบกลางตามกำหนด สำหรับกำหนดให้ใช้คืนภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 เป็นการประมาณการในด้านกรอบเวลาว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันยังมีฐานะเป็นรัฐบาลรักษาการ จึงไม่มีผลผูกพันต่อรัฐบาลชุดต่อไป

 

 

ำนักข่าว

cnxnews เจาะข่าว ตรงใจคุณ รายงาน