วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรมของจังหวัด

Spread the love

               จังหวัดเชียงใหม่จัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ ที่ดินด้านเกษตรกรรมของจังหวัด เพื่อให้การจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศเกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล

                เมื่อวันที่ 8 พ.ค.56 ที่ผ่านมา เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นางละไมพร วณิชย์สายทอง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ที่ดินด้าน เกษตรกรรมของจังหวัด คณะกรรมการดำเนินการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรมจังหวัด เชียงใหม่ คณะทำงานตรวจสอบและบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม สำหรับพืช ปศุสัตว์ ประมง คณะทำงานด้านปศุสัตว์ คณะทำงานด้านประมง และคณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ทำการเกษตรกรรมที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสาร สิทธิหรืออยู่ในพื้นที่ป่า เพื่อหารือแนวทางขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรมจังหวัด เชียงใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายให้จัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์ รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลประกอบการประมาณการผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาด ตามช่วงฤดูกาลต่าง ๆ และเฝ้าระวังเพื่อหามาตรการรงรับได้ทันท่วงที ตลอดจนเพื่อสนับสนุนการผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ โดยกำหนดขอบเขตการผลิตและมาตรการจูงใจให้เกษตรกรทำการผลิตตามศักยภาพของ พื้นที่ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ดำเนินการประกาศกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับ การผลิตสินค้าเกษตร จำนวน 3 ฉบับ โดยขอความร่วมมือกระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรมของจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นรองประธาน เกษตรและสหกรณ์จังหวัดหรือผู้ที่เหมาะสมเป็นเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่บูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งด้านการผลิต การแปรรูป การตลาด การคมนาคม แหล่งน้ำ การพัฒนาที่ดิน การดูแลสิ่งแวดล้อม รวมถึงภาคสังคม ซึ่งการจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นมี หลายกระทรวง รวมทั้งองค์กรภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรได้ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และทำการประมงในพื้นที่ที่เหมาะสม เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดต้นทุนการผลิต การจัดการด้านการตลาด การแปรรูป การเพิ่มมูลค่า และการจัดระบบ Logisticsในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ได้ออกประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวย การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรมของจังหวัดขึ้น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธาน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ และ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะมีหน้าที่ตรวจสอบพื้นที่เกษตรกรรมตามที่กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ประกาศเป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับพืช ปศุสัตว์ ประมง เพื่อทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตรวจสอบพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมหรือเหมาะสมน้อย ซึ่งเป็นเหตุให้เกษตรกรต้องลงทุนมากและได้กำไรไม่คุ้มกับการลงทุน ตรวจสอบพื้นที่ทำการเกษตรกรรมที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ หรืออยู่ในพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา จัดทำแผนการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับการตลาด โดยเน้นการบริหารจัดการที่เป็นกลไกธรรมชาติ สนับสนุนการผลิตของเกษตรกรที่เป็นการผลิตสีเขียว ไม่มีของเสีย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการสร้าง Smart Farmer หรือ เกษตรกรปราดเปรื่อง ซึ่งหมายถึง เกษตรกรที่เป็นเป้าหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องที่ตนเองทำอยู่ มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการผลิต มีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และต้องมีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร รวมทั้งสนับสนุน Smart Officer ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เป็นเพื่อนคู่คิดของ Smart Farmer ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ทางวิชาการและนโยบาย สามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยเหลือเกษตรกร และสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร ทั้งยังเป็นผู้ที่มุ่งนำเกษตรกรสู่การผลิตในรูปแบบ Green Economy และ Zero Waste Agriculture มีความภาคภูมิใจในองค์กรและความเป็นข้าราชการด้วยสำหรับประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กำหนดพื้นที่ที่เหมาะสม สำหรับการผลิตสินค้าเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย เขตความเหมาะสมของการปลูกข้าว 23 อำเภอ 142 ตำบล เขตความเหมาะสมของการปลูกลำไย 24 อำเภอ 128 ตำบล เขตความเหมาะสมของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 13 อำเภอ 36 ตำบล เขตความเหมาะสมของการปลูกยางพารา 6 อำเภอ 6 ตำบล เขตความเหมาะสมของการปลูกมันสำปะหลัง 2 อำเภอ 4 ตำบล เขตความเหมาะสมสำหรับเลี้ยงโคนม 12 อำเภอ 43 ตำบล เขตความเหมาะสมสำหรับเลี้ยงสุกร 18 อำเภอ 61 ตำบล เขตความเหมาะสมสำหรับเลี้ยงไก่เนื้อ 8 อำเภอ 19 ตำบล เขตความเหมาะสมสำหรับเลี้ยงไก่ไข่ 11 อำเภอ 28 ตำบล
ขอบคุณที่มา http://region3.prd.go.th

สำนักข่าว
cnx news เจาะข่าว ตรงใจคุณ